ต่อมเดียวกันอาจมีทั้งต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่ออยู่ด้วยกัน เช่น ตับอ่อนหลั่งน้ำย่อยผ่านท่อไปสู่ดูโอดีนัม และขณะเดียวกันกลุ่มเซลล์ของตับอ่อน(ISLETS OFLANGERHANS)ก็หลั่งฮอร์โมนสู่กระแสเลือดโดยตรง อัณฑะก็สร้างตัวอสุจิผ่านออกไปทางท่อ แต่ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มเซลล์เลย์ดิก(CELLS OF LEYDIG) สร้างฮอร์โมนเพศสู่กระแสโลหิต
ต่อมไร้ท่อสร้างสารเคมีซึ่งมักจะเรียกว่า ฮอร์โมน(HORMONES) ซึ่งจะไปควบคุมหรือดัดแปลงสมรรถภาพของเซลล์ของ อวัยวะเป้าหมาย(TARGET ORGAN) ผลของมันอาจไปกระตุ้นหรือยับยั้งก็ได้ต่อมไร้ท่อสร้างสารเคมีซึ่งมักจะเรียกว่า ฮอร์โมน(HORMONES) ซึ่งจะไปควบคุมหรือดัดแปลงสมรรถภาพของเซลล์ของ อวัยวะเป้าหมาย(TARGET ORGAN) ผลของมันอาจไปกระตุ้นหรือยับยั้งก็ได้ต่อมไร้ท่อสร้างสารเคมีซึ่งมักจะเรียกว่า ฮอร์โมน(HORMONES) ซึ่งจะไปควบคุมหรือดัดแปลงสมรรถภาพของเซลล์ของ อวัยวะเป้าหมาย(TARGET ORGAN) ผลของมันอาจไปกระตุ้นหรือยับยั้งก็ได้1. ต่อมใต้สมอง (PITUITARY GLAND)
2. ต่อมไทรอยด์ (THYROID GLAND)
3. ต่อมพาราไทรอยด์ (PARATHYROID GLAND)
4. ตับอ่อน (PANCREASE)
5. ต่อมหมวกไต (ADRENAL GLAND)
6. ต่อมเพศ (GONAD)
7. ฮอร์โมนจากรก
8. ต่อมเหนือสมอง (PINEAL GLAND)
9. ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
1. ต่อมใต้สมอง
ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ เช่น
1) Growth Hormone เป็นฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะ กระดูกและกล้ามเนื้อ
2) Thyroid Stimulating Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้าง ไทร็อกซินเพิ่มขึ้น
3) Gonadotrophic Hormone เป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
4) Antidiuretic Hormone เป็นฮอร์โมนช่วยในการดูดน้ำกลับของท่อไต เพื่อรักษา ระดับน้ำของร่างกาย
5) Melatonin เป็นฮอร์โมนกระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น
2. ต่อมไทรอยด์
ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ คือ ไทร็อกซิน โดยใช้ไอโอดีนเป็นวัตถุดิบในการ สร้างฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนไทร็อกซินมีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1) ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท
2) ช่วยในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อเป็นผู้ใหญ่
3) ช่วยควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมในร่างกาย
3. ต่อมพาราไทรอยด์
ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อ พาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย โดยวิตามินดีจะรวมกับฮอร์โมนพาราธอร์โมนในการสลายแคลเซียมออก จากกระดูกเพื่อรักษาระดับปกติของแคลเซียมในพลาสมา
4. ตับอ่อน
ลักษณะเป็นต่อมขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางด้านหลังของกระเพาะอาหาร ใกล้กับลำไส้เล็กส่วนดูโอดินัม ซึ่งเป็นลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ จะผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ดังนี้
1) อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง โดยช่วยให้กลูโคสผ่าน เข้าเซลล์และเปลี่ยนส่วนหนึ่งเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับ ปกติ
2) กลูคากอน เป็นฮอร์โมนที่ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน คือ ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น
5. ต่อมหมวกไต ( adrenal gland )
เป็นก้อนสีเหลืองๆ อยู่เหนือไตข้างละ 1 ต่อม ต่อมหมวกไตในผู้ใหญ่ประกอบด้วยต่อมไร้ท่อ 2 ต่อม คือต่อมหมวกไตส่วนนอกเจริญมาจากเซลล์มีเซนไคมาส (mesenchymas) ของชั้นมีโซเดิร์มของตัวอ่อน ต่อมหมวกไตส่วนในเจริญมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเดียวกับเซลล์ประสาท
ในทารกต่อมหมวกไตจะมีขนาดใหญ่ แต่เนื่องจากขาดสารเร่งปฏิกิริยา จึงไม่สามารถสร้างฮอร์โมนเหล่านี้ได้ ผลิตได้แต่สารที่จะเปลี่ยนไปเป็นฮอร์โมนอีสโทรเจนที่รก
แบ่ง ฮอร์โมนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่สำคัญ คือ
1) Glucocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับ และกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไป จะทำให้อ้วน อ่อนแอ หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย น้ำตาลในเลือดสูง
2) Mineralocorticoid hormone ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ aldosterone ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับ Na และ Cl ภายในท่อไต ถ้าขาด aldosterone จะทำให้ร่างกาย สูญเสียน้ำและโวเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลง จนอาจทำให้ผู้ป่วยตาย เพราะความ ดันเลือด ต่ำ
3) Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
4) อะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
4.1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด
4.2) Noradrenlin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
3) Sex hormone ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง
4) อะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla ) เป็นเนื้อชั้นในของต่อมหมวกไต อยู่ภายใต้การควบคุมของ sympathetic ถูกกระตุ้นในขณะตกใจ เครียด กลัว โกรธ เนื้อเยื่อชั้นนี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ
4.1) Adrenalin hormone หรือ Epinephrine hormone กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง เส้นเลือดขยายตัว เปลี่ยน glycogen ในตับให้เป็นกลูโคสในเลือด
4.2) Noradrenlin hormone หรือ Norepinephrine hormone กระตุ้นให้เส้นเลือดมีการบีบตัว ผลอื่นคล้ายๆ adrenalin แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า
6. ต่อมเพศ
ในชายได้แก่อัณฑะและในหญิงได้แก่รังไข่ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 อย่างคือ สร้างเซลสืบพันธ์และสร้างฮอร์โมน
6.1ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งจะทำหน้าที่หลายอย่างคือ
1) ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์
2) ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น
3) กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์
4) ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย
6.1ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญคือ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งจะทำหน้าที่หลายอย่างคือ
1) ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์
2) ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของกระดูกเพิ่มขึ้น
3) กระตุ้นการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเอ็นไซม์
4) ควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนเพศชาย
1) ในเด็ก
– ทำให้อวัยวะสืบพันธ์ไม่เจริญ
– ไม่มี Secondary sexual characteristic
– มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขายาวผิดปกติ
– เป็นหมัน
2) ในผู้ใหญ่
– เป็นหมัน
– ไม่มีความรู้สึกทางเพศ มีลักษณะไปทางเพศหญิง– ไม่มี Secondary sexual characteristic
– มีไขมันสะสมมากขึ้น แขนขายาวผิดปกติ
– เป็นหมัน
ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธ์และลักษณะต่างๆของความเป็นเพศหญิง ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์คือ ระงับไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์ป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นในเพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสม และกระตุ้นต่อมน้ำนมให้เจริญเติบโต
ถ้าตัดรังไข่ออกจะทำให้เกิดผลดังต่อไปนี้
– ไม่มีเลือดประจำเดือน
– มีลักษณะคล้ายชาย
– ประจำเดือนหยุด
– ไม่มีความรู้สึกทางเพศ
– มีลักษณะคล้ายชาย
– ไม่มี Secondary sexual characteristic
7.ฮอร์โมนจากรก
โกนาโดโทรฟินจากรก สามารถวัด HCG ในปัสสาวะของมารดาได้ตั้งแต่วันที่ 9 ของการตั้งครรภ์และระดับจะสูงขึ้นระหว่างสัปดาห์ที่ 9-12 หลังจากนั้นจะลดลง การตรวจพบ HCG ในปัสสาวะหรือเลือดใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงการตั้งครรภ์ HCG ทำหน้าที่ยืดอายุการทำงานของคอร์ปัสลูเทียม กระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนณัแลกซินเพื่อยับยั้งการหดตัวของมดลูก
Human chorionic somatomammotropin (HCS) เป็นฮอร์โมนชนิดเปปไทด์ประกอบด้วยกรดอะมิโน191 หน่วย มีโครงร้างเหมือนฮอร์โมน โซมาโทโทรฟินหรือโกรทฮอร์โมน และโพรแลกทิน แต่มีผลแบบโพรแลกทินสูงกว่าโกรทฮอร์โมน ขณะที่ระดับ HCG ลดต่ำลงหลังจาก 3 เดือนของการตั้งครรภ์ รกจะสร้าง HCS ในสัปดาห์ที่ 4 และจะเพิ่มระดับขึ้น เรื่อยๆ จนถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด
โพรเจสเทอโรน รกจะเริ่มสร้างโพรเจสเทอโรนในสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ถึงระดับสูงสุดเมื่อใกล้คลอด โพรเจสเทอโรนถูกขับทิ้งทางปัสสาวะ โพรเจสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่สำคัญสำหรับการตั้งครรภ์โดยเตรียมเยื่อบุมดลูกเพื่อรับตัวอ่อน ทำงานร่วมกับฮอร์โมนรีแลกซิน ลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของแม่ไม่ให้ต่อต้านการมีทารกซึ่งเปรียบเสมือนเซลล์แปลกปลอมในร่างกายของแม่
เอสโทรเจน รกสร้างเอสโทรเจนได้ทั้งเอสทราไดออล เอสโทรนและเอสไทรออล แต่สร้างเอสไทรออลได้มากกว่าฮอร์โมนอีก 2 ชนิดและมีระดับเพิ่มขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์คือช่วยในการพัฒนเต้านมและทำให้กล้ามเนื้อมดลูกมีขนาดโตขึ้น ทำให้เอ็นยึดต่างๆในอุ้งเชิงกราน และ หังหน่าว ช่วยให้บริเวณช่องคลอดขยายออกได้กว้างขึ้น
8.ต่อมไพเนียลหรือต่อมเหนือสมอง (Pineal gland)
ต่อมไพนีล เป็นต่อมเล็กๆ รูปไข่ หรือรูปกรวย คล้าย ๆ เมล็ดสน (pine cone) เป็นที่มาของชื่อpinel gland ลักษณะค่อนข้างแข็ง สีน้ำตาล ขนาดยาวจากหน้าไปหลัง ๕-๑๐ มิลลิเมตร กว้าง และสูง ๓-๗ มิลลิเมตร หนัก ๐.๒ กรัม ยื่นมาจากด้านบนของไดเอนเซฟฟาลอน หรืออยู่ด้านล่างสุดของโพรงสมองที่สาม
ประกอบด้วยเซลล์ 2 ประเภท คือ เซลล์ไพเนียล( pinealocytes) และ เซลล์ไกลอัน (glial cell)จัดอยู่ในระบบประสาทคือ การรับตัวกระตู้การมองเห็น(visual nerve stimuli) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นดวงตาที่ 3 ทำหน้าที่ควบคุมร่างกาย โดยทำงานร่วมกับ ต่อมไฮโปทารามัส (Hypothalamus) ซึ่งต่อมไฮโปทารามัส จะทำหน้าที่เกี่ยว ความหิว ความกระหาย เรื่องเซ็กส์ และนาฬิกาชีวิตซึ่งควบคุมอายุของมนุษย์ และเป็นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน
ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล (pineal gland) อยู่ บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา ฮอร์โมนที่สร้างจาากต่อมนี้ คือ เมลาโทนิน ยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้าลง ระงับการหลั่ง โกนาโคโพรฟิน ให้น้อยลง ถ้าต่อมไพนิลไม่สามารถสร้างเมลาโทนินได้ จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่าปกติ แต่ถ้าสร้างมากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มเป็นสาวช้ากว่าปกติ ต่อมไพเนียลทำหน้าที่เหมือนตัวกลางที่จะรับรู้ความยาวของกลางวันและกลางคืนและส่งสัญญาณในรูปของฮอร์โมนเมลาโทนินไปยังระบบต่างๆ เมื่อแสงสว่างผ่านเลนส์แก้วตาไปตกกระทบกับจอรับภาพบริเวณส่วนหลังสุดของลูกตาที่เรตินา(retina) ที่มีใยประสาทมาเลี้ยง จะส่งกระแสประสาทไปที่ ศูนย์รวมเส้นประสาทที่อยู่เหนือใยประสาทที่ไคว้กันเหนือสมองหรือ นิวเคลียสซูพราไคแอสมาติก( suprachiasmatic nuclei) ผ่านเส้นประสาทซิมพาเทติกจนถึงที่ปมประสาทซูพีเรีย เซอร์วิคัล (superior cervical ganglion) แล้วส่งต่อไปที่ต่อมไพเนียล
9. ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
ตับอ่อน (Pancreas) ตั้งอยู่ที่ด้านบนซ้ายของช่องท้อง โดยวางตัวจากส่วนโค้งของลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม (duodenum ) ถึงม้าม (spleen) และด้านหลังของกระเพาะ (stomach) มีลักษณะค่อนข้างแบน มีความยาวประมาณ 12 –15 เซนติเมตร ตับอ่อนทำหน้าที่ทั้งเป็นต่อมมีท่อคือการสร้างน้ำย่อยไปที่ลำไส้เล็กและเป็นต่อมไร้ท่อสร้างฮอร์โมนเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนจะรวมกันเป็นกลุ่มมีชื่อว่า ไอเลตส์ออฟแลงเกอร์ฮานส์ ( Islets of Langerhans ) มีปริมาณ 1 – 3 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อเยื่อตับอ่อนทั้งหมด
ฮอร์โมนที่สร้างจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
1) ฮอร์โมนอินซูลิน ( Insulin )
- สร้างจากเบต้าเซลล์ ( beta cell ) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่รอบนอกของกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
- อวัยวะเป้าหมาย ตับ,กล้ามเนื้อ
- หน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด (ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 80 - 100 มิลลิกรัม / 100 ลบ.ซม. ) โดยเพิ่มการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ตับ กระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไกลโคเจน( โมเลกุลของคาร์์โบไฮเดรตที่สร้างจากกลูโคส )เก็บสะสมไว้ภายในเซลล์
- ความผิดปกติ เกิดโรคเบาหวาน( diabetes mellitus)โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมนอินซูลิน(lnsulin)ได้น้อยหรือไม่ได้เลยทำให้เซลล์้ตับและเซลล์กล้ามเนื้อไม่สามารถเปลี่ยนกลูโคสในเลือดให้เป็นไกลโคเจนเก็บสะสมไว้ภายในเซลล์ได้จึงเกิดการสะสมของน้ำตาลในเลือดเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมีมากเกินปกติก็จะถูกไตขับออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน หรือมีมดขึ้นได้ จึงเรียกว่าเบาหวาน
- อาการของผู้ป่วยที่ที่เป็นเบาหวาน มักจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก เนื่องจากน้ำตาลที่ออกมาทางไตจะดึงเอาน้ำออกมาด้วย จึงทำให้มีปัสสาวะมากกว่าปกติ เมื่อถ่ายปัสสาวะมาก ก็ทำให้รู้สึกกระหายน้ำ ต้องคอยดื่มน้ำบ่อย ๆ ผู้ป่วยไม่สามารถนำน้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทนทำให้ความเป็นกรดในเลือดสูง กลไกการหายใจผิดปกติ ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง การมีน้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ ทำให้อวัยวะต่าง ๆเกิดความผิดปกติ และนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่น โรคตาต้อหิน โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไต โรดหัวใจ โรคความดันเลือดสูง เป็นต้น ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ทำให้เป็นโรคความดันโลหิต สูง, อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด ถ้าหลอดเลือดที่เท้าตีบแข็ง เลือดไปเลี้ยงเท้า ไม่พออาจทำให้เท้าเย็น เป็นตะคริวหรือ ปวดขณะเดินมาก ๆ หรืออาจทำให้ เป็นแผลหายยากหรือเท้าเน่า ( ซึ่งอาจเกิดร่วมกับการติดเชื้อ )เป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น วัณโรคปอด, กระเพาะปัสสาวะอับเสบ,กรวยไตอักเสบ, กลาก , โรคเชื้อรา , ช่องคลอดอักเสบ (ตกขาวและคันในช่องคลอด ) , เป็นฝี หรือพุพองบ่อย,เท้าเป็นแผล ซึ่งอาจลุกลามจนเท้าเน่า(อาจต้องตัดนิ้วหรือตัดขา)
2) ฮอร์โมนกลูคากอน ( Glucagon )
- สร้างจาก แอลฟาเซลล์( alpha cell ) ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ส่วนในและเป็นเซลล์ส่วนใหญ่ของกลุ่มเซลล์ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์( ดูภาพด้านบน )
- อวัยวะเป้าหมาย ตับ,กล้ามเนื้อ
- หน้าที่ เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นให้เซลล์้ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด เพิ่มการสังเคราะห์กลูโคสจากกรดอะมิโนและกรดไขมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น